วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

กระบวนการโต้วาที



ก่อนการโต้วาที
        1.เลือกญัตติ
        2.กำหนดวัน เวลา และสถานที่
        3.พิจารณาบุคคลที่จะโต้วาทีทั้งสองฝ่าย กำหนดบุคคลที่จะทำหน้าที่ประธาน และกรรมการ
        4.ประชาสัมพันธ์
        5.เตรียมสถานที่  โดยทั่วไปนิยมจัดเวทีดังนี้
ดำเนินการโต้วาที
        -ประธานหรือผู้ดำเนินการจะเป็นผู้กล่าวเปิดการโต้วาที ประกาศญัตติ   ระเบียบการโต้ และแนะนำผู้โต้ทั้งสองฝ่ายให้ผู้ฟังรู้จัก
        -ประธานหรือผู้ดำเนินการโต้วาทีจะเชิญผู้โต้ขึ้นพูดทีละคนตามลำดับ โดยหัวหน้าฝ่ายเสนอจะเป็นผู้พูดก่อน    คนต่อมาคือหัวหน้าฝ่ายค้าน    หลังจากนั้นจะเป็นผู้สนับสนุนฝ่าเสนอและผู้สนับสนุนฝ่ายค้านตามลำดับ
         ผู้โต้วาทีทั้งสองฝ่ายควรยึดหลักการโต้วาที  ดังนี้
ฝ่ายเสนอ
ฝ่ายค้าน
หัวหน้าฝ่ายเสนอ
-กล่าวทักทายผู้ฟัง
-เสนอญัตติ
-แปรญัตติหรือให้คำนิยามหรือให้ความหมาย ขอบเขตของญัตติ
-ให้เหุผลสนับสนุนญัตติ
-อธิบายรายละเอียดข้อปลีกย่อย
-ยกตัวอย่าง อุทาหรณ์ กล่าวคำพังเพยประกอบการสนับสนุน
-เน้นสรุปประเด็น
ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอ
-กล่าวทักทายผู้ฟัง
-อธิบายสนับสนุนหัวหน้าฝ่ายเสนอ
-อธิบายข้อเสนอด้วยการหาเหตุผลเพิ่มเติม
-โต้แย้งฝ่ายค้านเป็นประเด็นๆ
-เน้นสรุปประเด็นสำคัญ
หัวหน้าฝ่ายค้าน
-กล่าวทักทายผู้ฟัง
-พยายามชี้แจงให้เห็นข้อบกพร่องในการให้เหตุผลของฝ่ายเสนอ
-โต้แย้งเป็นประเด็นโดยยกเหตุผลประกอบ
-ชี้ให้เห็นข้อเท็จจริงเพื่อหักล้างให้เห็นว่าไม่เป็นไปตามญัตติ
-เสนอแนะความคิดเห็นของฝ่ายตน
-เน้นสรุปประเด็นสำคัญ

ผู้สนับสนุนฝ่ายค้าน
-กล่าวทักทายผู้ฟัง
-หาเหตุผลข้อเท็จจริงสนับสนุนหัวหน้า
-พูดโต้แย้งข้อเสนอของผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอ
--นำข้อมูลสถิติ คำคม ข้อเท็จจริงมายืนยัน
-เน้นสรุปประเด็นสำคัญ

ข้อเสนอแนะในการโต้วาที


2. คณะบุคคลที่ดำเนินการโต้วาที
           2.1 ประธานในการโต้วาที (หรือผู้ดำเนินการโต้วาที)  มีหน้าที่กล่าวเปิดการโต้วาที ประกาศญัตติ  ระเบียบการโต้ให้ผู้โต้และผู้ฟังได้ทราบ กล่าวแนะนำผู้โต้ทั้งสองฝ่าย เชิญผู้โต้ขึ้นโต้ตามลำดับ ประธานควรระวังในเรื่องต่อไปนี้
     ต้องวางตัวเป็นกลาง ไม่เผลอกล่าวสนับสนุนผู้โต้วาทีคนใดคนหนึ่งเป็นอันขาด
     ต้องพูดให้น้อยที่สุด เพราะผู้ฟังเน้นมาฟังผู้โต้วาทีมากกว่า
     ต้องเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี ทั้งเรื่องกำหนดการ ข้อมูลเกี่ยวกับญัตติ กรรมการ และผู้โต้วาที
          2.2  ผู้โต้วาที  ซึ่งประกอบด้วยบุคคล  2  ฝ่าย  คือ
                -ฝ่ายเสนอ ประกอบด้วย หัวหน้าและผู้สนับสนุน 2 - 3 คน
                -ฝ่ายค้าน  ประกอบด้วย หัวหน้าและผู้สนับสนุน 2 - 3 คน
         2.3   กรรมการตัดสิน  มักจะเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีความเข้าใจในกระบวนการโต้วาทีและเชื่อถือได้  กรรมการมีหน้าที่ให้คะแนน ปกติมักมีจำนวนเป็นคี่ ประมาณ 3-5 คน  ในการโต้วาทีที่ไม่เป็นทางการ เพื่อความสนุกสนานหรือเชื่อมความสามัคคี มักให้ผู้ดำเนินการขอเสียงปรบมือจากผู้ฟัง โดยตัดสินจาก
     ประเด็นในการโต้
     เหตุผล
     การหักล้าง
     วาทศิลป์
     มารยาท คือท่าทาง เนื้อหาที่พูด การใช้ถ้อยคำ และการตรงต่อเวลา
     ส่วนประกอบอื่น ๆ เช่นน้ำเสียง วิธีพูด และท่าทาง

     3. ผู้ฟัง ควรรู้จักพิจารณาถ้อยคำที่โต้ ตอนใดผู้โต้วาทีพูดดีเป็นที่ประทับใจควรปรบมือให้

วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

ควาย!!!

“ควายคือชีวิตของคนไทย” ความใกล้ชิดระหว่าง“ควายกับคน” จะแตกต่างกับสุนัข  หรือแมว 


ที่เลี้ยงดูไว้เพื่อจุดประสงค์หนึ่งเพราะเราถือว่าควายเป็นสัตว์มีบุญคุณ และได้รับการยอมรับเป็นอย่างสูงโบราณมีพิธีทำขวัญควาย โดยเมื่อเสร็จจากฤดูไถหว่านแล้วจะประกอบพิธีทำขวัญให้กับควาย มี การกล่าว โองการยกย่องว่าเป็นสัตว์ที่ช่วยเหลือในการทำมาหากิน ช่วยเหลือแรงงานด้านต่าง ๆ เสร็จแล้วจะมีการจัดหาหญ้าอ่อน น้ำสะอาดเลี้ยงดูให้กับควายมี หลายคนเรียกควายว่า “ลูก” สมัยก่อนจะไม่มีการฆ่าควายเพื่อกินเนื้อเป็นอาหาร ทุกบ้านจะเลี้ยงดูจนแก่เฒ่า  และปล่อยให้ตายเอง จึงจะยอมชำแหละเนื้อมาเป็น อาหาร แต่เก็บเขาเอาไว้เป็นที่ระลึก ว่าได้เคยช่วยเหลืองานมา และจดจำชื่อไว้ว่าเป็นเขาของควายตัวใด ๆ และเกิดประเพณีสะสมเขาควายต่อมาโลกเจริญก้าว หน้า มีวิทยาการและเทคโนโลยีใหม่ ๆ  สังคมเปลี่ยนแปลง รวมทั้งสังคมเกษตรในประเทศไทยจากที่เคยใช้ ควายไถนา   คราดนา   ลากเกวียน   นวดข้าวเปลี่ยนเป็นเครื่องจักร  เครื่องนวดข้าว บทบาทของควายภาคเกษตรหมดลงโดยสิ้นเชิง  “น่าใจหาย” บทบาทใหม่ของควายล่ะคือ 
อะไร...…จากสัตว์ที่เคยได้รับการยกย่องว่าเป็นสัตว์ที่มีบุญคุณ ช่วยเหลืองานทุกครัวเรือนเอาใจใส่ เลี้ยงดูเป็นอย่างดี  สุมไฟให้เพื่อ ป้องกันยุง   หาหญ้า   หาน้ำ  เพื่อเลี้ยงดู   อยู่กินอย่างเป็น เพื่อน   ไม่น่าเลยคนใจร้ายทำได้    “เห็นหน้ากันอยู่ หลัด ๆ กินเสียได้” ปัจจุบันควายถูกเลี้ยงเพื่อเป็นสัตว์เศรษฐกิจ คือเลี้ยงเพื่อส่งขายให้กับโรงฆ่าสัตว์ไม่มี การชะลอหรือละเว้น ควายหมดจากประเทศไทยแน่ๆ เด็กรุ่นหลังคงรู้จักควายจาก อนุสาวรีย์ หรือรูปภาพเท่านั้นโครงการ “บ้านควาย” ดำเนินการอยู่ที่ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัด สุพรรณบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ ปลุกสำนึกให้กับพี่น้องประชาชนได้ระลึกถึง “ควาย” สัตว์ที่มีบุญคุณ ช่วยในการส่งเสริมรายได้ให้กับชุมชน และยังส่งเสริมและอนุรักษ์ให้ควายเป็นสัตว์ที่ได้รับความสนใจ และได้รับการเลี้ยงดูอย่างมีคุณค่า เพราะไม่แน่ว่าวันข้างหน้าควายอาจกลับมามี บทบาทต่อชีวิตของพี่น้องเกษตรกร อีกก็ได้  about_kwai“วันนี้ดูไร้ค่า  ที่ผ่านมาเคยช่วยชาติ”

ประโยชน์ของควาย



ประโยชน์ของควายควาย ! คำนี้ อยู่คู่กับคนไทยมานาน ควายเป็นทั้งเพื่อน เป็นทั้งผู้มีพระคุณของคนกินข้าวในสมัยอดีตกาล เพราะสมันนั้นถ้าไม่มีควายไถนาให้ชาวนาปลูกข้าว ก็คงไม่มีผมหรือใคร ๆ โตมาได้ขนาดนี้

วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

การโต้วาที


ความหมายของการพูดโต้วาที
                การพูดโต้วาที คือการที่บุคคลสองฝ่ายใช้ศิลปะการพูดหรือวาทศิลป์พูดโต้คารม หรือถกเถียงกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ประกอบด้วย
                 การโต้วาทีจัดเป็นการอภิปรายอย่างหนึ่ง
                โต้วาที หมายถึง การแสดงความคิดเห็นเพื่อเอาชนะความคิดเห็นของอีกฝ่าย การโต้วาทีจึงเป็นการเอาชนะกันด้วย "เหตุผลของวาที"
                คณะผู้เสนอฝ่ายหนึ่ง คณะผู้คัดค้านฝ่ายหนึ่ง และมีประธานเป็นผู้รักษาระเบียบของคู่โต้วาที ผู้พูดแต่ละฝ่ายจะใช้คำพูดโต้แย้งกันอย่างมีระเบียบ ตามหัวข้อที่กำหนดโดยพยายามใช้วาทศิลป์ในการพูด  ใช้หลักการและหลักฐานต่างๆ เพื่อคัดค้านโต้แย้ง หรือหักล้างกันอย่างมีเหตุผล ถ้าฝ่ายใดมีคารมดีกว่า มีเหตุผลดีกว่า มีหลักฐานดีกว่า ฝ่ายนั้นก็เป็นฝ่ายชนะ

วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

ความซื่อสัตย์ น่ะจ๊

ความซื่อสัตย์

         ในสังคมวันนี้ ความซื่อสัตย์ได้กลับกลายเป็นเรื่องเล็กน้อยเมื่อคนส่วนใหญ่ละเลย ด้วยจิตสำนึกผิดชอบที่คิดว่าเป็นเรื่องที่สามารถปฏิบัติได้โดยง่าย แต่ในความจริงแล้วความซื่อสัตย์เป็นเรื่องท้าทายใจอยู่ทุกขณะจิต เราต้องตัดสินใจที่ตอบรับหรือปฏิเสธว่าเราจะยังเดินอยู่ในกรอบแห่งความถูกต้องหรือไม่ ความซื่อสัตย์ที่แท้จริงยังเป็นเรื่องที่ต้องวัดได้ในขณะที่ยังไม่มีใครควบคุม ไม่มีใครรู้ไม่มีใครเห็น ไม่มีใครมาคอยบังคับอีกด้วย ความซื่อสัตย์เป็นสิ่งที่มาจากใจจริง

        ความซื่อสัตย์ในสังคมจัดเป็นปัญหาระดับชาติที่เริ่มตั้งแต่ตัวบุคคล สังคม และประเทศชาติ ภัยร้ายของความไม่ซื่อสัตย์ในสังคมมีมูลเหตุจากค่านิยมในการวัดความสำเร็จจากความมั่นคั่งแห่งอำนาจเงินและวัตถุ ก่อให้เกิดพฤติกรรมการดำเนินชีวิตในลักษณะกอบโกย ฉ้อฉล คดโกง ใช้อิทธิพลขู่บังคับแลกกับความมั่งคั่งให้มากและรวดเร็วที่สุด

        การดำเนินชีวิตที่ไม่ซื่อสัตย์ จะกลายเป็นความน่าเศร้าในระยะต่อไป บุคคลเหล่านี้อาจจะไม่รู้ว่าตนเองได้ยึดความล้มเหลวที่ถูกปิดซ่อนมองไม่เห็นไว้ด้วยความหลงผิด เพราะแท้จริงแล้วมันคือ ความล้มเหลวที่เปรียบเสมือนระเบิดเวลาแห่งความหวาดกลัวที่เกรงว่าคนจะจับได้ เป็นเหมือนหนามเล็กๆที่คอยทิ่มแทงใจ การตั้งมั่นอยู่ในความซื่อสัตย์เป็นเรื่องของความจำเป็น : ไม่มีใครปรารถนาอยู่ในสังคมที่ปราศจากความซื่อสัตย์เพราะจะต้องอยู่อย่างหวาดระแวงและไม่มีความสุข เราต่างก็ปรารถนาความจริงใจจากกันและกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นความซื่อสัตย์จากครอบครัว ชุมชน หรือสังคม
             

         หากเราเป็นผู้หนึ่งที่มีความมุ่งหมายในเป้าชีวิตสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน เราต้องปฏิเสธการดำเนินชีวิตที่เห็นเพียงแต่ผลประโยชน์ระยะสั้นเฉกเช่นเดียวกับคนที่ดำเนินชีวิตคดโกงอื่นๆ ที่มีอยู่ในสังคม เราจำเป็นต้องยึดมั่นอยู่ในความซื่อสัตย์ และพัฒนาจิตสำนึกภายในให้มั่นคงโดยยึดหลักแห่งการตัดสินใจที่ละเลือกความซื่อสัตย์อย่างแท้จริง สาเหตุของความไม่ซื่อสัตย์ประเภทหนึ่ง คือ ความหลงอำนาจ เมื่อมีอำนาจเพิ่มมากขึ้น คนเราก็มักจะมีแนวโน้มที่จะใช้อำนาจในทางที่ผิดมากขึ้นด้วย คือ เมื่อมีอำนาจก็หลงตน คิดว่าประสบความสำเร็จและสามารถจะทำอะไรก็ได้ รากแห่งความไม่ซื่อสัตย์ในชีวิตอาจทำให้ผู้มีอำนาจหลงไปโดยการใช้อำนาจในทางที่ผิดได้ บางคนอาจถูกล่อลวงด้วยเงินทอง เกียรติยศ ชื่อเสียง จนกระทั่งปฏิเสธความซื่อสัตย์ที่มีอยู่ในชีวิตอย่างสิ้นเชิง ตระหนักว่าความซื่อสัตย์เป็นบ่อเกิดแห่งความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจ

         เราควรยึดถือคติพจน์ไทยโบราณที่ค่อนข้างถูกปฏิเสธแล้วในสังคมปัจจุบันว่า "ซื่อกินไม่หมด คิดกินไม่นาน" คนทั่วไปอาจทึ่งในความสามารถ แต่เราควรให้คนประทับใจในลักษณะชีวิตความซื่อสัตย์ของเราด้วยในเส้นทางชีวิตที่ยาวไกล ความซื่อสัตย์ต้องเริ่มตั้งแต่เรื่องเล็กน้อย
      
         ความซื่อสัตย์ต้องเริ่มตั้งแต่เรื่องเล็กๆ หากเราไม่ซื่อสัตย์ในเรื่องเล็กน้อย เรื่องใหญ่เราก็จะไม่ซื่อสัตย์ด้วย ไม่ว่าจะกระทำการใดเราควรได้กระทำด้วยความรับผิดชอบตามกฎระเบียบ หากทำผิดก็ต้องรับผิด อย่าพลิกแพลงหรือแก้ตัว การแก้ตัวนั้นถือได้ว่า เป็นการไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเอง ถึงแม้อาจจะฟังดีมีเหตุผล แต่ไม่มีประโยชน์ในการดำเนินชีวิตและกลับยิ่งเป็นการลดคุณค่าตัวเองมากยิ่งขึ้น หากเราทำดีมาร้อยครั้งแต่เมื่อเราทำผิดและแก้ตัว บุคคลอื่นก็จะเริ่มสงสัยไม่ไว้วางใจเรา เริ่มไม่อยากมอบหมายความรับผิดชอบให้กับเรา ดังนั้น เราจึงควรยอมรับความจริงได้แม้เราผิดพลาดไป และดำเนินชีวิตด้วยความมั่นใจว่าความซื่อสัตย์ที่เราพากเพียรทำไว้นั้นจะสามารถปกป้องเราไว้ได้อย่างแน่นอน ความซื่อสัตย์สามารถพัฒนาได้

        ความซื่อสัตย์เป็นเรื่องที่พัฒนาได้และเราควรมีแรงบันดาลใจอยากเป็นคนซื่อสัตย์ได้โดยตั้งคำถามว่า "เราอยากประสบความสำเร็จในระยะยาวหรือระยะสั้น" ความสำเร็จอย่างยั่งยืนริเริ่มได้ด้วยความตั้งใจจริงที่จะเอาชนะความฉ้อฉลที่พร้อมจะเกิดขึ้นในจิตใจของเรา ทุกคนสามารถได้รับความสำเร็จที่ยั่งยืนในชีวิตจากความซื่อสัตย์นี้ได้ หากดำเนินชีวิตด้วยความระมัดระวังพัฒนาและฝึกตนเอง เริ่มตั้งแต่ความคิด การกระทำและในทุกๆ การตัดสินใจต้องตั้งใจว่า จะไม่กระทำสิ่งใดเพียงเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตนเองต้องการ แต่จะใช้มาตรฐานความซื่อสัตย์เป็นตัววัดจิตใจเพื่อเราจะทำทุกสิ่งได้ถูกต้อง การเช่นนี้จะส่งเสริมให้เราถูกต้องเสมอต้นเสมอปลาย การเช่นนี้จะส่งเสริมให้เราเป็นบุคคลที่ได้รับความไว้วางใจจากผู้ร่วมงาน เป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือ อันจะส่งผลให้ชีวิตเรามีศักดิ์ศรีและได้รับการยกชูในทางที่ดีขึ้น ความซื่อสัตย์ของเราวันนี้คือดัชนีชี้วัดความสำเร็จที่ยั่งยืนในวันข้างหน้าของเราอย่างแท้จริง


                                      ความซื่อสัตย์ของข้าพเจ้า นะจ๊ะ^^
1. ไม่โกหกผู้อื่น              3.รักพ่อรักแม่เชื่อฟัง(ไม่โกหกท่านน๊ะค่ะ)

 2. ไม่ขโมยของ             4.ถ้าเจอขอมีค่าก็นำไปส่งคืนเจ้าของ ^^"

The Heart Of Man Part 1

The Heart Of Man Part 2 (หัวใจชายหนุ่มตอน2) นะจ๊

the heart of man part 3 (หัวใจชายหนุ่มตอน3)